ต้นกำเนิดหลักสูตรศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์จากยุคกลาง
ต้นกำเนิดหลักสูตรศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์จากยุคกลาง
ส่วนมากเรามักจะนึกภาพยุคกลางว่าเป็น"ยุคมืด"ทั้งทางสังคมและทางปัญญา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ถูกสอนต่อกันมาโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ทั้งๆที่ยุคกลางเป็นสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงที่วางรากฐานให้กับยุคต่อๆมาและโลกในปัจจุบันอย่างแท้จริง และมีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมจนเกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการถึง3ครั้งก่อนที่จะถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเสียอีก
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ในยุคกลาง หากคุณอยากเป็นผู้รู้ที่จะทำงานราชการหรือสายวิชาการ จะต้องศึกษาศาสตร์ทั้ง 7 แขนงของสายศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ ไวยากรณ์ศาสตร์ (Grammar) ตรรกศาสตร์(Logic) การใช้โวหาร(Rhetoric) เลขคณิต(Arithmetic) เรขาคณิต(Geometric) ดาราศาสตร์(Astronomy) ทฤษฎีดนตรี(Theory of Music) โดยมีแก่นจากแนวคิดของโสคราตีสและพลาโตที่อยู่ตรงกลางของภาพ ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรมาเรื่อยๆจนมาเป็นการศึกษาศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์ในปัจจุบันครับ
ภาพวาดจากศตวรรษที่ 12 โดย Herrad of Landsberg ซึ่งเป็นแม่ชี ผู้แต่งหนังสือสารานุกรม และศิลปิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น