วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

cla คือ

ทาน CLA เพื่อลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพ

CLA หรือ กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก(Conjugated Linoleic Acid) เป็นไอโซเมอร์กับกรดไขมันไลโนเลอิก(Linoleic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายพันธะ(PUFA, Polyunsaturated fatty acid)  โดยไอโซเมอร์ของ CLA ส่วนใหญ่ที่พบคือ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ซึ่งมักจะผสมอยู่ด้วยกัน

แหล่งที่พบในอาหารโดยธรรมชาติคือไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย และไขมันในเนื้อสัตว์  เนื่องจากสัตว์ประเภทนี้มีจุลลินทรีย์ในระบบลำไส้ที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันไลโนเลอิกที่ได้รับจากอาหารสัตว์(หญ้า และเมล็ดธัญพืช) ให้กลายเป็น CLA ได้ 


Photo CR: troyspro.com.au
CLA ที่พบได้ในไขมันวัวโดยปรกติจะมีปริมาณ 1.2-12.5 มก. ต่อไขมัน 1 กรัม  ซึ่งปริมาณการรับประทาน CLA เพื่อผลทางสุขภาพนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1.5-3.5 กรัมต่อวัน (Crumb and Vattem, 2011)  ซึ่งหมายความว่าถ้าเราจะได้รับ CLA จากการรับประทานอาหารปรกติเราต้องกินไขมันวัวในปริมาณตั้งแต่ 120 กรัมถึงเกือบ 3 กก.



Photo CR: oilypedia.com

ส่วน CLA ที่มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำมากจากไขมันวัว แต่จะทำมาจากน้ำมันดอกคำฝอย (Safflower Oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีกรดไลโนเลอิกมาก โดยนำน้ำมันดอกคำฝอยไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันไลโนเลอิกให้กลายเป็นกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกหรือ CLA นั้นเอง ทำให้สัดส่วน CLA ในน้ำมันมีปริมาณสูงถึงประมาณ 80% ของน้ำหนักน้ำมัน  จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องบริโภคน้ำมันในปริมาณมากก็สามารถได้รับปริมาณ CLA ที่เพียงพอที่จะส่งผลต่อสุขภาพ


ประโยชน์ของ CLA ต่อสุขภาพ

ถึงแม้ว่า CLA จะเป็นที่นิยมในการรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก และไขมันส่วนเกิน แต่แท้จริงแล้วประโยชน์ของ CLA ที่พบครั้งแรกนั้นคือความสามารถในการต้านการกลายพันธุ์ (Anti-mutagen) ซึ่งค้นพบในปี 1978 โดยความบังเอิญในเนื้อย่าง โดยที่ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นสารอะไร นักวิจัยจึงทำการศึกษาต่อและต่อมาจึงสามารถระบุชื่อสารนี้ว่า CLA (Pariza, 2004)

มีหลายงานวิจัยที่พบว่า CLA มึคุณสมบัติในการยับยั้งกระบวนการเกิดโรคมะเร็งขั้นต่างๆ ซึ่งได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมลูกหมาก (Crumb and Vattem, 2011)
CLA ยังมีคุณสมบัติในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย  โดยสามารถลดการผลิตสารก่ออักเสบ และสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Crumb and Vattem, 2011)

CLA กับการลดน้ำหนัก

คุณสมบัตินี้ถึงกับเป็น Highlight ของ CLA เพราะเรื่องความอ้วนเนี้ยเป็นอะไรที่เห็นได้จากภายนอก ต่างจากการป่วยเป็นโรคที่ต้องไปตรวจถึงจะพบ ใครๆก็อยากมีรูปร่างที่ดีสมส่วน งั้นมาลองดูงานวิจัยกันว่า CLA ช่วยทำให้เราหุ่นดีขึ้นได้หรือไม่

มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก และมวลไขมัน (Body Fat Mass) ในหนูทดลอง(พันธ์ต่างๆ) นักวิจัยจึงได้ทำการวิจัยในมนุษย์ซึ่งผลที่ได้พบว่าประสิทธิภาพของ CLA ในการลดน้ำหนักนั้นไม่เด่นชัดเท่าที่พบในหนูทดลอง โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของ CLA ที่เห็นผลคือการลดมวลไขมัน(Body Fat Mass) ซึ่งมีพบการลดลงของน้ำหนักตัวบ้างแต่น้อยมากส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างงานวิจัยที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการลดมวลไขมัน และการลดน้ำหนักของการรับประทาน CLA


Blankson และคณะ (2000) ได้ทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นคนอ้วน(BMI 25-35 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ในปริมาณต่างๆกัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าปริมาณที่เห็นผลคือ 3.4 และ 6.8 กรัมต่อวัน โดยพบว่าเฉพาะมวลไขมันที่ลดลง แต่มวลกายไร้ไขมัน (Lean Body Mass) และดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
Photo CR: www.weighttraining.com

Thom และ Gudmundsen (2001) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของ CLA ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวปรกติ(BMI < 25 kg/m2) และออกกำลังกายประจำ โดยให้รับประทานในปริมาณ 1.8 กรัมต่อวัน(ครั้งละ 600 มก. วันละ 3 ครั้ง) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานมีมวลไขมันลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว 

มีการศึกษาในปริมาณการรับประทานที่ต่ำลงไปอีกคือที่ 0.7-1.4 กรัมต่อวันโดย Mougios และคณะ(2001) ซึ่งให้รับประทานเป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ 4 สัปดาห์แรกให้รับประทานในปริมาณ 0.7 กรัมและ 4 สัปดาห์ต่อมาให้รับประทานในปริมาณ 1.4 กรัม พบว่ามวลไขมันลดลงในระหว่างช่วงที่สองหรือ 4 สัปดาห์หลัง ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการรับประทาน CLA ในปริมาณ 0.7-1.4 กรัมต่อวันเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์อาจลดมวลไขมันของร่างกายได้

เนื่องจาก CLA ส่วนใหญ่จะมีไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ผสมกันจึงได้มีการศึกษาของ Belury และคณะ (2003) ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณไอโซเมอร์ของ CLA ที่พบในเลือดจากการรับประทาน CLA กับการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และระดับฮอร์โมนเลปตินในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน(ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และมีระดับฮอร์โมนเลปตินสูงซึ่งทำให้มีความอยากอาหารสูง) โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ CLA ในเลือดเพิ่มขึ้นจะมีน้ำหนักตัว และระดับฮอร์โมนเลปตินในเลือดลดลง โดยไอโซเมอร์ที่เห็นผลคือ t-10, c-12 

มีการศึกษาผลของ CLA ในการควบคุมน้ำหนักภายหลังการลดน้ำหนัก พบว่าการได้รับ CLA ในปริมาณ 1.8 หรือ 3.6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 13 สัปดาห์ ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน(BMI 27.8 ± 1.5 kg/m2) ที่ผ่านการลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารพลังงานต่ำมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สามารถเพิ่มอัตราการใช้พลังงานระหว่างพัก(Resting metabolic rate) และช่วยในการเพิ่มมวลกายไร้ไขมัน (Fat-free mass) แต่อย่างไรก็ไม่ได้แสดงถึงความสามารถในการควบคุมน้ำหนักภายหลังการลดน้ำหนักของ CLA (Kamphuis, et al., 2003)

สำหรับการศึกษาในการรับประทานระยะยาวดังเช่นการศึกษาของ Gaullier และคณะ (2004) ที่ให้ผู้ทดสอบที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI 25-30 kg/m2) รับประทาน CLA ปริมาณ 3.4 และ 3.6 กรัมต่อวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่ามีน้ำหนักลดลง, BMI ลดลง, มวลไขมันลดลง และมีมวลกายไร้ไขมันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และในปีต่อมา Gaullier และคณะ (2005) ก็ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทาน CLA ในปริมาณเดียวกันต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี(เนื่องจากการศึกษาแรกไม่ได้พิจารณาข้อมูลความปลอดภัย)ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยดีและยังคงให้ผลในเรื่องการลดมวลกาย และมวลไขมันเช่นเดียวกับการศึกษาครั้งก่อน

มีการศึกษาที่น่าสนใจถึงประสิทธิภาพของ CLA ในการป้องกันการเพิ่มน้ำหนักระหว่างช่วงเทศกาลวันหยุดพักผ่อน โดยให้ผู้ทดสอบที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI 25-30 kg/m2) รับประทาน CLA ปริมาณ 3.2 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเลือกช่วงเดือนที่เป็นหน้าเทศกาลช่วงปลายปีถึงต้นปี (เป็นช่วงเทศกาลของต่างประเทศ) โดยทำการตรวจสอบน้ำหนักช่วงเดือนก่อนเทศกาล (สิงหาคม-ตุลาคม), ช่วงเทศกาล (พฤศจิกายน-ธันวาคม) และช่วงหลังเทศกาล (มกราคม-มีนาคม)  โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA มีมวลไขมันที่ลดลง และยังสามารถป้องกันการเพิ่มน้ำหนักในช่วงฤดูเทศกาลได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ(Watras, et al., 2007)

โรคอ้วนนั้นไม่ได้พบปัญหาเฉพาะผู้ใหญ่ในเด็กก็พบปัญหาไม่น้อยเช่นกันจึงได้มีการศึกษาผลของ CLA ในเด็กน้ำหนักเกิน และเด็กอ้วนที่มีสุขภาพดีที่มีช่วงอายุ 6-10 ปี โดยให้รับประทาน CLA 2.4 กรัมต่อวัน (หรือ 3 กรัม ของน้ำมันที่มี CLA 80%) เป็นเวลาประมาณ 7 เดือน พบว่ากลุ่มเด็กที่ไดรับ CLA มีมวลไขมันลดลง (Racine, et al., 2010)


ตัวอย่างงานวิจัยที่พบว่าการรับประทาน CLA ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย (Body composition)


Zambell และคณะ (2000) ได้ศึกษาถึงความสามารถในการเพิ่มการนำพลังงานไปใช้ (Energy expenditure) ของการรับประทาน CLA โดยศึกษาในผู้ใหญ่สุขภาพดีเพศหญิง ที่ให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 64 วัน ผลคือไม่พบการเปลี่ยนแปลงทั้งสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย และการนำพลังงานไปใช้ 

Petridou และคณะ(2003) ได้ทำการศึกษาในผู้หญิงน้ำหนักตัวปรกติแต่มีลักษณะการดำเนินชีวิตที่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน(Sedantary behavior) โดยให้รับประทาน CLA วันละ 2.1 กรัม เป็นเวลา 45 วัน ผลคือพบการเพิ่มของระดับไอโซเมอร์ของ CLA ในเลือด2-5 เท่าแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย

จากการศึกษาผลของชนิดไอโซเมอร์ และปริมาณรับประทาน CLA ในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีน้ำหนักเกิน (BMI 25-30 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ในปริมาณ 1.5 กรัม และ 3 กรัม เป็นเวลา 18 สัปดาห์ พบว่ามีการลดลงของมวลไขมันของทุกกลุ่มที่รับประทาน CLA ไอโซเมอร์ และปริมาณต่างๆ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA (MalpuechBrugère, et al., 2004)

การศึกษาผลของ CLA ในการป้องกันการเพิ่มน้ำหนักหลังการควบคุมอาหารในคนอ้วน (BMI > 28 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 3.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี ภายหลังที่มีการควบคุมอาหารมาแล้วเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและมวลไขมันไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ CLA (Larsen, et al., 2006)

จากการศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (BMI 25 kg/m2) ที่ให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 2.7 และ 2.8 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกายเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (Joseph, et al., 2011)


สิ่งที่ควรตระหนักในการรับประทาน CLA


การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน

มีงานวิจัยที่พบการเกิดภาวะดื้ออินซูลินในหนูทดลองที่ได้รับ CLA จึงได้สนใจประเด็นนี้แล้วได้ทำการศึกษาในมนุษย์แล้วก็พบภาวะนี้เช่นกัน ดังเช่นในการศึกษาของ Risérus และคณะในปี 2002 ที่พบว่ากลุ่มคนที่อ้วนลงพุง (รอบเอวมากกว่า 102 ซม. และ BMI 27-39 kg/m2) ที่ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ t-10, c-12 เพียงอย่างเดียว ในปริมาณ 3.4 กรัมต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์  จะมีภาวะดื้ออินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และกลุ่มที่ได้รับ CLA ที่มีไอโซเมอร์ผสม และสอดคล้องกับการศึกษาต่อมาของ Risérus และคณะ(2004) ที่พบว่าไอโซเมอร์ t-10, c-12 มีความข้องเกี่ยวกับความบกพร่องของการตอบสนองอินซูลินของเซลล์ ต่อมา Risérus และคณะ(2004) ก็ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของอีกไอโซเมอร์ของ CLA คือไอโซเมอร์ c-9, t-11 ในกลุ่มคนอ้วนที่อ้วนลงพุงเช่นเดียวกัน (รอบเอวมากกว่า 102 ซม. และ BMI 27-35 kg/m2) โดยให้ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ c-9, t-11 เพียงอย่างเดียวในปริมาณ 3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน  พบว่ากลุ่มที่ได้รับมีความไวต่ออินซูลินลดลง และมีค่าบ่งชี้ของการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี CLA ที่ใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริมนั้นโดยปรกติจะประกอบด้วยไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 สองชนิดผสมกัน Syvertsen และคณะ(2007) จึงได้ศึกษาผลของการได้รับ CLA ที่มีสองไอโซเมอร์ผสมกันต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลินในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักมาก และคนอ้วน(BMI 28-32 kg/m2) ทั้งชายและหญิงโดยให้รับประทานในปริมาณ 3.4 กรัมต่วันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการได้รับ CLA ที่มีไอโซเมอร์ผสมไม่ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของกูลโคส และภาวะดื้ออินซูลิน

การออกซิเดชั่นของไขมัน และการอักเสบ

เนื่องจากกลไกการทำงานของ CLA ในการต้านมะเร็งบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดออกซิเดชั่นไขมันภายในร่างกาย  Basu และคณะ (2000) จึงได้ทำการศึกษาผลของการได้รับ CLA ในผู้ที่มีสุขภาพดีปรกติ โดยได้รับในปริมาณ 4.2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งพบว่ามีค่าบ่งชี้ของการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น  และนอกจากนี้ Basu และคณะ (2000) ยังได้ทำการศึกษาในคนอ้วนที่อ้วนลงพุงอีกด้วย เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักมีการออกซิเดชั่นของไขมันและการอักเสบมากกว่าปรกติซึ่งจากศึกษาผลของการรับประทาน CLA ในคนอ้วนที่อ้วนลงพุง(รอบเอวมากกว่า 94 ซม. และ 27< BMI <39 kg/m2)  โดยให้รับประทาน CLAในปริมาณ 4.5 กรัมต่อวันเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่ามีระดับของค่าบ่งชี้ที่แสดงถึงการออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และเมื่อหยุดรับประทาน CLA เป็นเวลา 2 สัปดาห์ค่าบ่งชี้การเกิดออกซิเดชั่นเหล่านี้ก็ลดลงมาอยู่ในระดับปรกติ และเช่นเดียวกับการศึกษาในคนที่อ้วนมากผิดปรกติของ Risérus และคณะ(2004) ที่พบการออกซิเดชั่นของไขมันเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ C-9, t-11

มีการศึกษาผลของการรับประทาน CLA ในรูปไอโซเมอร์ผสมต่อการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันและการอักเสบภายในร่างกายของกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับ CLA ปริมาณ 4.6 กรัมต่อวันเป็นเวลา 16 สัปดาห์พบว่ามีค่าบ่งชีการอักเสบและการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันภายในร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA (Tholstrup, et al., 2008)

ไขมันสะสมที่ตับ และนิ่วในถุงน้ำดี

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ได้รับ CLA พบว่ามีการลดลงของมวลไขมันในเนื้อเยื้อแต่กลับพบการสะสมของไขมันในตับเพิ่มขึ้นโดยไอโซเมอร์ที่น่าจะมีผลคือ t-10, c-12  ทั้งนี้อาจเนื่องจากการที่ CLA สลายเซลล์ไขมันทำให้ได้กรดไขมันอิสระออกมาซึ่งส่งผลให้ตับต้องรับกรดไขมันอิสระไปและเกิดการสะสมที่ตับ  แต่อย่างไรก็ดีกลไกในการสะสมไขมันในตับเนื่องจากการได้รับ CLA นั้นยังไม่อาจเป็นที่กระจ่างชัดซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป (Vvas, et al., 2011; Ferramosca and Zara, 2014)
พบการสะสมของคอลเลสเตอรอลในถุงน้ำดีซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีในหนูทดลอง (Letona, et al., 2011)

รับประทาน CLA อย่างไรให้เห็นผล และปลอดภัย


จากการตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์ดังที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นได้ว่า สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินและคนอ้วน(BMI 25 kg/m2 : มาตรฐานยุโรป; BMI 23 kg/m2 : มาตรฐานเอเชีย) ปริมาณการรับประทานที่เห็นผลคือ มากกว่า 3 กรัมต่อวัน (คิดที่ปริมาณของ CLA ไม่ใช่ปริมาณน้ำมันดอกคำฝอย เช่น 1 แคปซูลมีน้ำมันดอกคำฝอย 1160 มก. ซึ่งประกอบไปด้วย CLA 900 มก. นั้นหมายความว่าต้องรับประทาน 4 แคปซูลซึ่งจะได้ CLA 3.6 กรัม) ส่วนคนที่มีน้ำหนักตัวปรกติและมีการออกกำลังกายร่วมด้วยการรับประทานประมาณ 2 กรัมต่อวันก็อาจจะเพียงพอ  และคนที่มีน้ำหนักตัวปรกติแต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงานอาจต้องรับประทานมากกว่า 2 กรัมต่อวัน  โดยผลที่ได้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการลดมวลไขมัน และเพิ่มมวลกายไร้ไขมัน แต่ในเรื่องการลดของน้ำหนักตัวนั้นไม่ค่อยชัดเจน
Photo CR: ilovemyhealth.net

สืบเนื่องจากการพบว่ากลไกในการทำงานของ CLA ในการสลายไขมันนั้นอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายอันได้แก่ การออกซิเดชั่นของไขมันภายในร่างกาย การอักเสบ และการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งผลเสียนี้ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ที่มีความอ้วนในระดับอ้วนลงพุง และนอกจากนี้ยังพบการสะสมไขมันที่ตับ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีของสัตว์ทดลอง ดังนั้นควรมีการรับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมด้วยอันได้แก่
  • กรดแกมม่าไลโนเลนิก (GLA) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า GLA สามารถลดการอักเสบและการสะสมไขมันในตับที่เกิดขึ้นจากการได้รับ CLA ได้ (Nakanishi, et al., 2004) ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้มักพบใน น้ำมันโบราจ (Borage oil), น้ำมันเมล็ดแบล็คเคอแรนท์ (Blackcurrant seed oil), น้ำมันดอกอีฟเวนนิ่งพริมโรส (Evening primrose oil) และน้ำมันดอกคำฝอย (Safflower oil) เป็นต้น
  • น้ำมันปลา (Fish oil) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการได้รับน้ำมันปลาร่วมกับ CLA  สามารถลดการสะสมไขมันที่ตับ และภาวะดื้ออินซูลินได้ (Ide, 2005; Fedor, et al., 2012; Fedor, et al., 2013) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในคนโดยให้รับประทาน CLA ปริมาณ 3 กรัมต่อวันร่วมกับน้ำมันปลาปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์พบว่านอกจากจะช่วยในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในคนหนุ่มที่อ้วนแล้ว ยังป้องกันผลกระทบต่อความไวอินซูลินเนื่องจาก CLA ได้อีกด้วย (Sneddon, et al., 2008)
  • เรสเวอราทรอล(สารสกัดจากองุ่นแดง) จากการศึกษาในเนื้อเยื้อมนุษย์พบว่าเรสเวอราทรอลสามารถลดการอักเสบ และภาวะดื้ออินซูลินที่เกิดจาก CLA ได้ (Kenedy, et al., 2009)
  • น้ำมันเมล็ดแฟลก (Flax seed oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 อยู่สูงเช่นเดียวกับน้ำมันปลา  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสามารถลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และการสะสมไขมันที่ตับเนื่องจาก CLA ได้ (Kelley, et al., 2009)
  • สเตอรอลจากพืช (Phytosterol) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นของสเตอรอลจากพืชสามารถลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันได้ (da Silva Marineli, et al., 2012)
  • กรดโอเลอิก (Oleic acid) จากการศึกษาในเนื้อเยื้อมนุษย์พบว่าสามารถลดการอักเสบที่เกิดจาก CLA ได้ (Reardon, et al., 2012) ซึ่งกรดโอเลอิกจะพบมากในน้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนล่าเป็นต้น

อย่างไรก็ดีอาหารเสริมเพียงเป็นผู้ช่วยในการลดน้ำหนักเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือวินัยของผู้ลดน้ำหนักที่ต้องควบคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย



หลายคนคงสงสัยว่า CLA  ที่นิยมนำมาใช้เป็นอาหารเสริมลดน้ำหนักนั้น คืออะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้าง


CLA ถูกค้นพบโดยบังเอิญ ในปี ค.ศ. 1978 ขณะที่นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน, สหรัฐอเมริกา กำลังศึกษาเรื่องของสารก่อกลายพันธุ์ (Mutagenic agents) ตัวอย่างเช่น เบนโซไพรีนส์ (Benzopyrenes) โดยพบว่ามีสารตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านการก่อกลาย พันธุ์(Mutagenic inhibitor) และอีก 10 ปีต่อมา จึงได้ทำการแยกและระบุได้ว่า สารตัวนั้น คือ CLA (Conjugated Linoleic Acid) 


 CLA หรือ Conjugated Linoleic Acid เป็นกรด ไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้จากการรับประทานเท่านั้น เป็นกรดไขมันโครงสร้างพิเศษเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว อยู่ในกลุ่มกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า-6
จากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า CLA มีหน้าที่นำไขมันเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญ ให้เกิดเป็นพลังงาน โดยช่วยนำพากลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพื่อนำไปเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเปลี่ยนเป็นพลังงาน ก่อนที่มันจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน ส่งผลให้ลดปริมาณไขมันสะสมในร่างกายได้ จึงนิยมใช้กับโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ CLA ยังมีคุณสมบัติต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative reaction) และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคอีกด้วย


Conjugated Linoleic Acid(CLA) หรือ คอนจูเกตเต็ด ไลโนเลอิก แอซิด
มีงานวิจัยที่สนับสนุนคุณประโยชน์และความปลอดภัยของ CLA มากมายในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้ มีการออกสิทธิบัตรมากกว่า 50 ฉบับ เกือบทุกกรณีศึกษาให้ผลลัพธ์ที่สนับสนุนว่า CLA ช่วยในการลดไขมันในร่างกาย 
กรดคอนจูเกตเต็ด ไลโนเลอิค ทำงานร่วมกับแอล-คาร์นีทีน โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ คาร์นิทีน เอซิล ทรานสเฟอเรส ซึ่งทำหน้าที่ดึงเอากรดไขมันในร่างกายที่สะสมไว้มาเผาผลาญเป็นพลังงาน ช่วยลดมวลของไขมันโดยเฉพาะช่วงเอวและหน้าท้องในร่างกายลง และช่วยลดไขมันที่ชั้นใต้ผิวหนัง ร่างกายจึงดูกระชับไม่หย่อนยาน 


เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้จากการรับประทานเท่านั้น แหล่งของ CLA คือน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย CLA  มีประโยชน์ในเชิงการควบคุมน้ำหนักดังนี้1.1 ช่วยลดการสะสมไขมันส่วนเกิดขึ้นมาใหม่ โดยมีกลไกในการทำงาน คือ CLA จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (Lipo-protein Lipase) ช่วยให้ร่างกายลดการสะสมของไขมันที่ชั้นใต้ผิวหนัง1.2 ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่สะสมไว้ในร่างกาย โดยมีกลไกในการทำงานคือ CLA จะไปเร่งการทำงานของเอนไซม์ คาร์นิทีน ปาล์มิโตอิส ทรานสเฟอร์เรส (Carnititine Palmitoyl Transferase) ช่วยให้ร่างกายนำเอาไขมันที่สะสมไว้มาเผาผลาญให้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังลดการสร้างไขมันสะสมของไขมันอีกด้วย


กลไกการทำงานของ CLA ที่มีผลต่อร่างกาย
  • เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย CLA มีผลต่อระบบประสาท ซิมพฟเทติค (Sympathetic Nervous System) CLA จึงช่วยเพิ่มการทำลายกรดไขมัน และเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย นอกจากนี้ ยังทำลายไขมันในเซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ในไขมัน จากผลการทดลองพบว่า CLA สามารถลดขนาดของเซลล์ไขมัน แต่ไม่ลดจำนวนเซลล์ไขมัน ขณะที่การทดลองในหลอดทดลองพบว่า CLA สามารถลดขนาด และจำนวนเซลล์ที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นไขมัน
  • เพิ่มการหลั่งโกร๊ทฮอร์โมน (Growth Hormone) CLA มีผลต่อการหลั่งและการทำงานของ Growth Hormone, Insulin-like growth Factor และGrowth Factor ตัวอื่นๆ ซึ่งสารเหล่านี้มีผลเพิ่มกล้ามเนื้อ และลดมวลไขมัน
  • มีผลต่อโครงสร้างและหน้าที่ของผนังเซลล์ CLA เป็นองค์ประกอบ ของผนังเซลล์ มีผลต่อเนื่องไปถึงการตอบสนองของเอ็นไซม์ และฮอร์โมน การแทรกผ่านของสารเข้าสู่เซลล์ การเคลื่อนไหวของผนังเซลล์ รวมทั้งผลต่อจำนวน และหน้าที่ของ receptor ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์
  • ยับยั้งการทำลายโปรตีนในกล้ามเนี้อลาย CLA มีผลต่อกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงของสาร eicosanoids, arochidonic และprostaglandin จากการทดลอง พบว่า CLA สามารถลดการสร้าง PGE2 ซึ่งเป็นสารที่เร่งการทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อลาย ดังนั้น CLA จึงมีผลยับยั้งการทำลายโปรตีนในกล้ามเนื้อลายได้
  • การสร้างและการตอบสนองของสาร Cytokines สาร Cytokines เช่น Tumor necrosis alpha factor ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน CLA อาจมีผลช่วยลดการสร้าง และการตอบสนองต่อสารดังกล่าว
  • การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน CLA มีผลต่อการทำงานของสาร peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน ดังนั้น สารที่มีผลต่อ PPAR จึงมีผลต่อการก่อตัวของเซลล์ไขมัน เช่นกัน
  • ป้องกันมะเร็ง จากผลการทดลองพบว่า CLA สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ส่วนปลาย มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งปอด แต่กลไกการป้องกันยังไม่ชัดเจน
  • ป้องกันโรคกระดูก จากผลการทดลองพบว่าหนูที่ได้รับ CLA มี มวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดย CLA กลไกที่ช่วยลดการสร้าง PGE2 มีผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก ในร่างกาย

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ต้นกำเนิดหลักสูตรศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์จากยุคกลาง

ต้นกำเนิดหลักสูตรศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์จากยุคกลาง

ส่วนมากเรามักจะนึกภาพยุคกลางว่าเป็น"ยุคมืด"ทั้งทางสังคมและทางปัญญา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ถูกสอนต่อกันมาโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้
ทั้งๆที่ยุคกลางเป็นสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงที่วางรากฐานให้กับยุคต่อๆมาและโลกในปัจจุบันอย่างแท้จริง และมีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมจนเกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการถึง3ครั้งก่อนที่จะถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเสียอีก

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ในยุคกลาง หากคุณอยากเป็นผู้รู้ที่จะทำงานราชการหรือสายวิชาการ จะต้องศึกษาศาสตร์ทั้ง 7 แขนงของสายศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ ไวยากรณ์ศาสตร์ (Grammar) ตรรกศาสตร์(Logic) การใช้โวหาร(Rhetoric) เลขคณิต(Arithmetic) เรขาคณิต(Geometric) ดาราศาสตร์(Astronomy) ทฤษฎีดนตรี(Theory of Music) โดยมีแก่นจากแนวคิดของโสคราตีสและพลาโตที่อยู่ตรงกลางของภาพ ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรมาเรื่อยๆจนมาเป็นการศึกษาศิลปศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์-อักษรศาสตร์ในปัจจุบันครับ

ภาพวาดจากศตวรรษที่ 12 โดย Herrad of Landsberg ซึ่งเป็นแม่ชี ผู้แต่งหนังสือสารานุกรม และศิลปิน